การเขียนคำอธิบายรายวิชา

ไปเจอมา เลยขอเอามาลงไว้ก่อน เผื่อเอาไปใช้ได้

การเขียนคำอธิบายรายวิชา ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เพื่อให้การเขียนคำอธิบายรายวิชา ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นรูปแบบเดียวกันทุกคณะทุกวิทยาเขต ฝ่ายวิชาการได้กำหนดหลักการในการเขียนคำอธิบายรายวิชา ดังนี้
1. การเขียนคำอธิบายรายวิชาให้เขียนเป็นวลี ไม่ต้องเขียนเป็นประโยค
2. เขียนให้กระชับ มีเฉพาะเนื้อหา โดยไม่ต้องมีส่วนของกระบวนการ เช่นคำว่า ศึกษา….. เป็นวิชาที่ว่าด้วย…. ให้นักศึกษา…….
3. คำอธิบายรายวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้มีเนื้อความสอดคล้องกัน การเขียนคำอธิบายรายวิชาเป็นภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอน
4. การเขียนคำอธิบายรายวิชาที่เป็นภาษาอังกฤษ ให้ขึ้นต้นอักษรแรกของคำอธิบายรายวิชาด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ที่เหลือใช้ตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะ และใช้เครื่องหมายวรรคตอนระหว่างวลีที่มีเนื้อหาเดียวกันหรือสัมพันธ์กัน ในกลุ่มเนื้อหาเดียวกัน ด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และเมื่อหมดกลุ่มเนื้อหานั้น ให้คั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (;) สลับกันไปจนจบคำอธิบายรายวิชาโดยไม่ต้องมีเครื่องหมายมหัพภาค (.) เนื่องจากเป็นนามวลีไม่ได้เป็นประโยค
ดังนั้น การเขียนคำอธิบายรายวิชา (ภาษาอังกฤษ) จึงกำหนดให้เขียน ดังนี้
เขียนเป็นนามวลี (Noun Phrase) มีเนื้อความสอดคล้องกับคำอธิบายภาษาไทย โดยขึ้นต้น
อักษรแรกของคำอธิบายรายวิชาด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ นอกนั้นใช้ตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะ ระหว่างวลีที่มีเนื้อหาเดียวกันหรือสัมพันธ์กัน ในกลุ่มเนื้อหาเดียวกัน ให้คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เมื่อหมดกลุ่มเนื้อหานั้นให้คั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (;) สลับกันไป จบคำอธิบายรายวิชาโดยไม่ต้องมีเครื่องหมายมหัพภาค(.) เนื่องจากไม่ใช่ประโยค
ตัวอย่างการเขียนคำอธิบายรายวิชา

419-340 วัฒนธรรมของชนชาติที่ใช้ภาษาเยอรมัน 3(3-0-6)
German Speakers and Their Culture

ความเป็นมาและลักษณะเฉพาะของชนชาติที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ ภูมิปัญญาของยุคสมัย ความเชื่อ ค่านิยม ศิลปะและวัฒนธรรมในบริบทของสังคมปัจจุบัน
Background and characteristics of native speakers of German; intellectual trends, beliefs, values, artistic and cultural expression in contemporary social context


723-221 กลศาสตร์ 1 3(3-0-6)
(Mechanics I)
การเคลื่อนที่ของอนุภาคในหนึ่ง สอง และสามมิติ การเคลื่อนที่ของระบบอนุภาค การหมุนของวัตถุแข็งเกร็งรอบแกนคงที่ การโน้มถ่วง แกนอ้างอิงที่เคลื่อนที่ การสั่นของเส้นเชือก
Motion of a particle in one, two and three dimension; motion of a system of particles; rotation of rigid body about a fixed axis; gravitation; moving coordinate systems; vibration string

ความคิดเห็น